มงคลที่ ๑๕ บำเพ็ญทาน - เนื้อนาบุญอันเลิศ
พระราชาว่า "ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ข้าพระองค์เห็นพระองค์ผู้ทรงเป็นสุขุมาลชาติเคยประทับในพระตำหนักอัน ประเสริฐ ทรงบรรทมเหนือพระยี่ภู่อันใหญ่โต เสด็จจากพระราชวังมาต่างถิ่นที่ปราศจากความเจริญ จึงได้ทูลถวายข้าวสุกอย่างดีมีกับเลิศรสเช่นนี้ พระองค์รับภัตตาหารนั้นแล้วไม่เสวยเอง แต่พระราชทานแก่พราหมณ์ผู้เป็นปุโรหิตทำไม พระเจ้าข้า"
มงคลที่ ๑๕ บำเพ็ญทาน - ให้บ่อยๆ รวยบ่อยๆ
ยาจกยังต้องขอบ่อยๆ ถ้าไม่ขอก็อด คำว่ายาจกคือคนขอทาน จะแตกต่างจากคำว่า สมณะ ซึ่งเป็นการขอแบบอริยะ ที่เป็นเนื้อนาบุญแก่ผู้ให้ทาน บุคคลสองประเภทนี้มีข้อวัตรปฏิบัติที่แตกต่างกันราวฟ้ากับดิน คุณธรรมก็ต่างกันเหมือน ก้อนกรวดเทียบกับภูเขา พวกยาจกจะขอด้วยการแสดงอาการอัน น่าสงสาร
มงคลที่ ๗ เป็นพหูสูต - ปัญญาพิชิตปัญหา
พระโพธิสัตว์ได้ใช้สติปัญญา แก้ข้อครหาของอำมาตย์ทั้ง ๕ คน เช่น เรียกให้อุจเฉทวาทีอำมาตย์เข้ามา พลางกล่าวว่า "ท่าน กล่าวว่า ทานที่บุคคลให้แล้วไม่มีผล และยังสำคัญว่า สัตว์ทั้งหลายย่อมขาดสูญในโลกนี้เท่านั้น สัตว์ผู้ไปสู่ปรโลกไม่มีเลย แล้วมาหัวเราะเยาะเราทำไม"
มงคลที่ ๓ บูชาบุคคลที่ควรบูชา - ผู้อยู่้ใกล้พระรัตนตรัย
"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันขอกราบนิมนต์พระองค์พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ เพื่อฉันภัตตาหารเช้าในวันรุ่งขึ้น ด้วยสัญญาณของหม่อมฉันนี้ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเถิดว่า พระองค์เป็นผู้อันหม่อมฉันนิมนต์ไว้แล้ว"
มงคลที่ ๒ คบบัณฑิต - รักจริงไม่ยอมทิ้งกัน
ภรรยาพระโพธิสัตว์กล่าวปลอบโยนว่า "ข้า แต่นายผู้เจริญ ท่านอย่ากลัวเลย ดิฉันจะอ้อนวอนนายพรานให้ชีวิตแก่ท่าน ถ้าดิฉันอ้อนวอนไม่ได้ ก็จักให้ชีวิตของดิฉันแทน แล้วให้ปล่อยท่านไป" พลางยืนชิดกับพระโพธิสัตว์ผู้มีข้อเท้าที่บาดเจ็บสาหัสอาบไปด้วยโลหิต
มโหสถบัณฑิต ตอนที่ ๑๘ ( ผดุงคุณธรรม )
บุคคลนั่งหรือนอนที่ร่มเงาของต้นไม้ใด ไม่พึงหักรานกิ่งของต้นไม้นั้นเพราะผู้ประทุษร้ายมิตรเป็นผู้ชั่วช้า ข้าแต่มหาราชเจ้า ถ้าบุคคลหักกิ่งต้นไม้ที่ตนได้บริโภคชื่อว่าเป็นผู้ประทุษร้ายมิตรไซร้ ผู้ที่ประทุษร้ายต่อผู้มีพระคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อม จะเป็นคนเช่นไรเล่า
เดินตามทางของบัณฑิต ตอนที่ ( ๗ )
พระคุณเจ้าจงบริโภคภัตอันวิเศษนี้เถิด เพราะสุธาโภชน์ที่บริโภคแล้วนั้น ย่อมขจัดบาปธรรมได้ถึง ๑๒ ประการ คือ ความหิว ความกระหาย ความกระสัน ความกระวนกระวาย ความเหน็ดเหนื่อย ความโกรธ ความเข้าไปผูกโกรธ ความวิวาท ความส่อเสียด ความหนาว ความร้อน และความเกียจคร้าน ภัตนี้มีรสอันเลิศ เป็นสิ่งสมควรแก่ท่านผู้มีคุณธรรมสูงส่ง
เดินตามทางของบัณฑิต ตอนที่ ( ๕ )
แต่ครั้นจะให้ก็กลัวว่า ข้าวปายาสคงไม่เหลือแน่ เพราะมีพราหมณ์ ผู้ไม่ได้รับเชิญ มารอบริโภคภัตของตนถึง ๓ คน แต่ถ้าจะไม่ให้ก็อึดอัด ส่วนความตระหนี่ที่ฝั่งแน่นอยู่ในใจนั้น ก็ยังไม่หลุดออกไปเลยทีเดียว มันรบกันไปรบกันมาอยู่ภายใน ระหว่างให้กับไม่ให้ เมื่อกุศลจิตส่งผลก่อน จึงได้แต่พูดด้วยความลำบากใจว่า
เดินตามทางของบัณฑิต ตอนที่ ( ๔ )
เรามักจะเห็นเศรษฐีที่ตระหนี่ในการบริจาค แต่ตัวเองใช้จ่ายอย่างสุรุ่ยสุร่าย แม้ของกินของใช้จะแพงแค่ไหน ก็กล้าทุ่มเงินซื้อหามา แสวงหาเครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ ให้คนเขาชื่นชมว่า ตัวเองเป็นคนรํ่ารวย แต่เศรษฐีท่านนี้กลับตระหนี่เป็นอย่างมาก จึงเป็น สิ่งที่พวกเราควรศึกษาว่า ทำอย่างไร ท่านจึงจะเป็นคนรวย ทั้งทรัพย์และน้ำใจ รวยทั้งภพนี้และทุกภพทุกชาติ
เวสสันดรชาดก ตอนที่ ๑๕ ( กัณหาชาลีได้รับอิสรภาพ )
พระราชาเวสสันดรพระองค์ใดเป็นที่พึ่งอาศัยของยาจกทั้งหลาย ดุจธรณีเป็นที่พึ่งอาศัยของสัตว์ทั้งหลาย หรือเป็นที่ไปมาของยาจกทั้งหลาย ดุจสาครเป็นที่ไหลหลั่งไปมาแห่งแม่น้ำทั้งหลาย พระราชาเวสสันดรพระองค์นั้น เมื่อเสด็จประทับแรม ณ ราวไพร ได้พระราชทานพระโอรสพระธิดาแก่ข้าพระบาท