วิธุรบัณฑิตบําเพ็ญสัจจบารมี (4)
ผู้ครองเรือนไม่ควรบริโภคอาหารที่มีรสอร่อยแต่ผู้เดียว ไม่ควรซ่องเสพถ้อยคำให้ติดอยู่ในโลก ที่ไม่เกื้อกูลต่อสวรรค์และนิพพาน เพราะถ้อยคำเช่นนั้น ไม่ทำให้ปัญญาเจริญได้เลย ผู้ครองเรือนพึงเป็นผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยวัตร ไม่ประมาท มีปัญญาเครื่องสอดส่องเหตุผล มีความประพฤติถ่อมตน ไม่เป็นคนตระหนี่ถี่เหนียว เป็นผู้สงบเสงี่ยม มีวาจาเป็นมิตร
ชัยชนะครั้งที่ 6 (ตอนที่ 3 ชนะสัจจกนิครนถ์)
พระพุทธเจ้าผู้เป็นพระธรรมราชา ผู้ส่องแสงสว่างไสว ยังไม่เสด็จอุบัติขึ้น เพียงใด ชนทั้งหลายก็พากันบูชาสมณพราหมณ์เหล่าอื่นอยู่เป็นอันมาก เพียงนั้น แต่เมื่อใด พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้มีพระสุรเสียงอันไพเราะ ได้ทรงแสดงธรรมแล้ว เมื่อนั้น ลาภและสักการะของพวกเดียรถีย์ก็เสื่อมไป
มงคลที่ 38 - จิตเกษม - สำคัญที่ดวงจิต
เมื่อแน่ใจแล้วว่าอุบาสิกานี้รู้วาระจิตของตนจริงๆ ท่านจึงกลับมาคิดใคร่ครวญว่า "กรรมนี้หนักหนอ ธรรมดาปุถุชน ย่อมคิดถึงอารมณ์อันงามบ้างไม่งามบ้าง ถ้าเราจักคิดสิ่งอันไม่สมควรแล้ว อุบาสิกานี้จะรู้ทันเราเหมือนจับโจรได้พร้อมด้วยของกลาง อย่ากระนั้นเลย เราควรหนีไปเสียจากที่นี้จะดีกว่า" แล้วจึงลาอุบาสิกาไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถึงแม้ว่าอุบาสิกาจะทัดทานให้อยู่ต่อก็ตาม เมื่อไปถึงพระพุทธองค์ได้ตรัสถามเธอว่า "ภิกษุ เธออยู่ในที่นั้นไม่ได้หรือ"
ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 179
พระเจ้าจุลนี ทรงสดับถ้อยคำเย้ยหยันของมโหสถแล้ว ก็ยิ่งทรงพระพิโรธหนักขึ้น ความอาฆาตแค้นอัดแน่นในพระอุราเป็นทับทวี ทรงดำริว่า “เจ้ามโหสถนี่กำแหงมากนัก มาเยาะเย้ยเราได้ ต้องให้มันรู้สำนึกเสียบ้างในวันนี้เป็นทีของใคร”
ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 178
ขณะนั้น พระเจ้าจุลนีเสด็จขึ้นสู่พระคชาธาร พระองค์ทรงสวมฉลองพระองค์ด้วยเกราะแก้วประดับเพชรมณี พระหัตถ์ทรงศร ประทับสง่าเหนือคอพระคชาธารซึ่งทรงพละกำลังมหาศาล พลางมีพระบัญชาสั่งขบวนพลทุกกองทัพ ทั้งพลช้าง พลม้า พลรถ พลราบ และกองขมังธนู ประชุมพร้อมกันเพื่อเตรียมเผด็จศึกทันที
มงคลที่ ๓๑ บำเพ็ญตบะ - เป็นผู้ประเสริฐด้วยการปฏิบัติ
พระอินทร์ได้ฟังคำอธิบายเช่นนั้น ทรงหายสงสัยในการบำเพ็ญตบะของพระฤๅษี ด้วยตระหนักชัดแล้วว่า ท่านไม่ได้ปรารถนาตำแหน่งท้าวสักกะ หรือความเป็นพระราชา มหาเศรษฐีเลย หากท่านมีความปรารถนาที่ยิ่งใหญ่ คือ ปรารถนา อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ อันประเสริฐ ซึ่งยากที่มนุษย์ธรรมดาจะกล้าคิดกล้าทำ
มงคลที่ ๒๑ ไม่ประมาทในธรรม - ชีวิตใหม่ในเพศสมณะ
พระภิกษุสามเณรที่บวชเข้ามาในบวรพระพุทธศาสนา คือ ผู้เห็นภัยในวัฏสงสาร เห็นว่าชีวิตนี้เต็มไปด้วยความทุกข์ ทั้งทุกข์ประจำและทุกข์จร ไม่ว่าจะเกิดเป็นชนชั้นสูง ชั้นกลาง หรือชั้นล่าง ต่างก็มีทุกข์ด้วยกันทั้งสิ้น เพราะฉะนั้น จึงสละเพศฆราวาส ออกบวชเป็นบรรพชิต ปลงผมและหนวด ละทิ้งเครื่องนุ่งห่มที่มีราคาของคฤหัสถ์
ทศชาติชาดก เรื่องมโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 85
มโหสถบัณฑิตยิ้มน้อยๆ พลางอธิบายว่า “การที่ข้าพเจ้าต้องมาทำงานเป็นลูกมือนางช่างหม้อเช่นนี้ เป็นความประสงค์ของข้าพเจ้าเอง ข้าพเจ้า ใคร่ครวญดีแล้วจึงได้กระทำเช่นนี้ ก็การสละความสุขเล็กน้อยเพื่อสุขอันไพบูลย์ในอนาคต เป็นสิ่งที่บัณฑิตทั้งหลายพึงกระทำมิใช่หรือ ความลำบากกายเพียงน้อยนิดเพื่อประโยชน์สุขอันยิ่งใหญ่ของวิเทหรัฐ จะไม่ควรหรือ”
ทศชาติชาดก เรื่องมโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 53
ท้าวเธอทรงสังเกตอากัปกิริยาของสัตว์ทั้งสองแล้ว ก็ทรงแปลกพระทัยยิ่งนัก เพราะธรรมดาแพะกับสุนัขย่อมเป็นอริกัน ไม่มีทางที่จะเป็นมิตรกันได้เลย แต่แพะกับสุนัขคู่นี้ กลับมาเป็นมิตรชิดชอบกันได้ แต่จะเป็นด้วยสาเหตุอันใดนั้น ท้าวเธอก็ยังไม่ทรงทราบแน่ชัด
มงคลที่ ๑๕ บำเพ็ญทาน - เศรษฐีผู้มีใจตระหนี่
คนตระหนี่กลัวความยากจนย่อมไม่ให้อะไรแก่ผู้ใด ความกลัวจนนั่นแหละ จะเป็นภัยแก่ผู้ไม่ให้ คนตระหนี่ย่อมกลัวความอยากข้าวอยากน้ำ ความกลัวนั่นแหละจะกลับมาสู่คนพาลทั้งในโลกนี้และโลกหน้า เพราะเหตุนั้น บัณฑิตพึงครอบงำมลทินกำจัดความตระหนี่เสียแล้วให้ทานเถิด เพราะบุญย่อมเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลายในโลกหน้า