นิมมานรดี
ดูก่อนสารีบุตร ในการให้ทานนั้น บุคคลไม่มีความหวังให้ทาน ไม่มีจิตใจผูกพันในผลแห่งทานแล้วให้ทาน ไม่มุ่งการสั่งสมให้ทาน อีกทั้งไม่ได้ให้ทานด้วยความคิดว่า “เราหุงหากินได้ แต่สมณะ หรือพราหมณ์ทั้งหลาย ไม่ได้หุงหากิน การไม่ให้ทานแก่สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหลาย ย่อมเป็นการไม่สมควร” แต่ให้ทานด้วยคิดว่า “เราจักเป็นผู้จำแนกแจกทานเช่นเดียวกับท่านฤาษีทั้งหลาย ผู้ที่ได้เคยจำแนกแจกทาน ตามแบบอย่างของบัณฑิตนักปราชญ์ในกาลก่อน บุคคลนั้นให้ทานด้วยอาการอย่างนี้แล้ว เมื่อทำกาลกิริยาตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาทั้งหลาย ในสวรรค์ชั้นนิมมานรดี
พรหมมีชีวิตเป็นอมตะจริงหรือ..
ท้าวพกพรหม เมื่อยังเป็นมนุษย์บวชเป็นฤาษีบำเพ็ญเพียรจนได้ฌาน ตายแล้วไปเกิดเป็นพรหมแต่ชีวิตในพรหมโลกนั้นยาวนานมากๆ เมื่อพกพรหมไปอยู่นานเข้าก็เลยคิดว่า พรหมโลกเป็นสิ่งเที่ยงแท้ เป็นอมตะ
Answer by the Law of Kamma :- Amulet
An audience asked the way to take the amulets which were not concern to the Triple Gem out of his house safely and correctly.
ปานียชาดก ชาดกว่าด้วยการทำบาปแล้วรังเกียจบาปที่ทำ
“ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ขึ้นชื่อว่ากิเลสเป็นของเล็กน้อยไม่มีเลย ธรรมดาว่าภิกษุต้องข่มกิเลสที่เกิดแล้วแล้วเสีย บัณฑิตครั้งก่อนเมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่เสด็จอุบัติต่างก็ข่มกิเลสทั้งหลายเสียได้บรรลุปัจเจกพุทธญาณ ”
สังวรมหาราชชาดก ชาดกว่าด้วยพระราชาผู้มีศีลาจารวัตรที่ดีงาม
พระโอรสสังวรกุมารเป็นพระโอรสองค์ที่ ๑๐๐ แห่งพระราชาเมืองพาราณสี ซึ่งเป็นผู้ที่เคารพรักใคร่ ของเหล่าปวงประชา เหตุเพราะพระองค์เป็นผู้ที่มีศีลาจารวัตรงดงาม เป็นผู้ไม่ความริษยา เคารพนบนอบในผู้มีคุณ มีความยินดีในธรรม ทำให้พระองค์เป็นผู้ที่ถูกเลือกให้ครองราชสมบัติแทนพระราชบิดาของตน
อัมพชาดก ชาดกว่าด้วยบัณฑิตควรพยายามร่ำไป
ในฤดูแล้งที่ยาวนาน แหล่งน้ำดื่มกินเหือดแห้ง ดาบสหนุ่มได้ทำรางไม้และตักน้ำมาเติมจนเต็มเพื่อให้สัตว์ทั้งหลายดื่มกิน จนตัวท่านเองเหนื่อยล้าไร้เรี่ยวแรง สัตว์ทั้งหลายเห็นความลำบากของท่าน จึงพร้อมใจกันนำผลไม้จากป่าเอามาให้ดาบสในทุกๆ วัน
กัลยาณธรรมชาดก ชาดกว่าด้วยผู้มีกัลยาณธรรม
" เราไม่ได้ออกบวช แต่คนอื่นทั้งหมดกลับคิดว่าเราบวช นี่คงเป็นเสียงดีสินะ เราจะไม่ทำให้เสียงดีนี้หายไป เราจะออกบวช ” เศรษฐีจึงกลับไปเข้าเฝ้าพระราชาอีกครั้ง พระราชาเมื่อเห็นเศรษฐีเดินมาเข้าเฝ้าอีกก็แปลกใจจึงตรัสถามว่า “ ท่านมหาเศรษฐี ท่านเพิ่งไปเดี๋ยวนี้เอง ทำไมจึงกลับมาอีกเล่า ” “ ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมแห่งชน กาลใดบุคคลได้สมัญญาในโลกว่า ผู้มีกัลยาณธรรม กาลนั้นนรชนผู้มีปัญญาไม่พึงทำตนให้เสื่อมสมัญญานั้นเสีย "
เกสวชาดก ชาดกว่าด้วยความคุ้นเคยเป็นรสอันยอดเยี่ยม
นารทอำมาตย์ได้สอบถามอาการของเกสวดาบส "ท่านหายจากโรคได้อย่างไรกัน ขนาดพระเจ้าพาราณสีทรงพาแพทย์มาดูแลรักษาท่านถึง ๕ คน ยังไม่สามารถทำให้ท่านหายได้" "เราดื่มยาคูลที่หุงด้วยข้าวฟ้างและลูกเดือยอันระคนด้วยผักที่ราดด้วยน้ำ ซึ่งไม่เค็มและไม่ได้อบกลิ่น อาหารจะดีหรือไม่ดี ขึ้นอยู่กับบุคคลที่คุ้นเคยกัน แล้วบริโภคในที่ใดการบริโภคในที่นั้นแหละดี เพราะรสทั้งหลายมีความคุ้นเคยเป็นเยี่ยม" เกสวดาบสตอบ
ตัจฉกสูกรชาดก ชาดกว่าด้วยหมูพร้อมใจกันสู้เสือ
พวกท่านจะกลัวเสือตัวนั้นไปทำไม พวกเราไม่มีเขี้ยวหรือ กำลังกายไม่พรั่งพร้อมหรือ พวกเราทั้งหมดพร้อมใจกันแล้ว ก็จะจับมันตัวเดียวเท่านั้นให้อยู่ในอำนาจได้ พวกท่านดูสิพวกเรามีทั้งหมดกี่ตัว แล้วแค่เสือตัวเดียว เราจะเอาชนะมันไม่ได้รึ ตัจฉกสุกรกระทำพวกหมูทั้งหมดให้มีความสามัคคีเป็นใจเดียวกัน แล้ววางแผนกำจัดศัตรูเจ้าเสือร้าย
สุขวิหารีชาดก ชาดกว่าด้วยสุขอันเกิดจากการบรรพชา
สมเด็จพระภัททิยะตัดสินพระทัยออกผนวชในพระพุทธศาสนา ได้บำเพ็ญเพียรจนหมดกิเลสเป็นพระอรหันต์ เดินทางภิกขาจารไปทุกหนทุกแห่งโดยลำพัง พระองค์ได้พบกับความสุขอย่างแท้จริง ด้วยไม่ข้องอยู่กับอิสริยยศและอันตราย จึงเปล่งอุทานขึ้นว่า “ เฮ้อ สุขจริงหนอ สุขจริง ”