มงคลที่ ๓๖ จิตไม่โศก - พิชิตความโศกด้วยสัจจธรรม
มหาชนที่ผ่านไปผ่านมา พบเห็นดาบสินีนอนสิ้นใจ ต่างก็พากันสงสารในชะตากรรม พากันร้องไห้คร่ำครวญอยู่ที่ศาลาหลังนั้น ส่วนพระโพธิสัตว์กลับจากภิกขาจาร มาเห็นมหาชนคร่ำครวญกันอยู่ เมื่อรู้ว่าดาบสินีคู่ทุกข์คู่ยากสิ้นใจแล้ว ก็ไม่ได้แสดงอาการอะไร ยังคงทำภัตกิจตามปกติ เพราะเป็นผู้ที่มีใจมั่นคง มองเห็นความตายเป็นเรื่องธรรมดาของสัตวโลก มหาชนเห็นอย่างนั้น จึงพากันถามด้วยความสงสัยว่า "ท่านดาบสเป็นอะไรกับนาง"
ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 161
ฝ่ายพระเจ้าจุลนีพรหมทัต ทรงสนพระทัยติดตามข่าวคราวของมโหสถอยู่ทุกระยะ เมื่อทรงสดับว่า บัดนี้ ขบวนของมโหสถบัณฑิตเข้าสู่ภายในเมืองแล้ว ท้าวเธอก็ยิ่งทรงโสมนัสยินดี พระพักตร์ผ่องใสด้วยทรงดำริว่า “มโหสถเอย เจ้าดิ้นรนมาหาคมดาบของข้าแท้ๆ อีกไม่ช้าข้าก็จะได้เห็นหลังของเจ้าล่ะ เมื่อเจ้ามา วิเทหราชก็ต้องมาแน่"
มงคลที่ ๓๑ บำเพ็ญตบะ - ตบะธรรมชนะกิเลส
ท้าวสักกะทรงดำริว่า “ดาบสนี้มีอานุภาพมากจะทำให้เราเคลื่อนจากความเป็นท้าวสักกะ เราจะต้องร่วมมือกับพระเจ้าพาราณสี ทำลายตบะของดาบสนั้นให้ได้” ครั้นเวลาเที่ยงคืน จึงเสด็จไปยังห้องบรรทมของพระเจ้าพาราณสี แสดงอานุภาพของท้าวสักกะ พลางตรัสกับพระราชาว่า
พระสงฆ์ 9,995 รูป เตรียมเจริญพระพุทธมนต์
พระสงฆ์ จำนวน 9,995 รูป เตรียมเจริญพระพุทธมนต์ โดยมีสมเด็จพระพุฒาจารย์ เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และนายกรัฐมนตรี เป็นประธานฝ่ายฆราวาส
มงคลที่ ๒๖ ฟังธรรมตลอดกาล - ฟังธรรมดับทุกข์
ในสมัยพุทธกาล ท่าน สุปปพุทธกุฏฐิ เป็นคนยากจน ต้องเที่ยวขอทานขออาหารเขากินทุกวัน ทั้งยังป่วยเป็นโรคเรื้อนอีกด้วย วันหนึ่งมหาชนได้มาประชุมรวมกัน เพื่อฟังธรรมจากพระบรมศาสดา สุปปพุทธกุฏฐิเห็นมหาชนมารวมกันจำนวนมาก จึงคิดว่า คงจะมีการแจกอาหารเป็นแน่ จึงไปที่นั่นเพื่อจะได้รับแจกอาหารบ้าง แล้ววันนั้นบุญเก่าที่ท่านเคยทำมาในอดีต ก็มาส่งผลพอดี
มงคลที่ ๒๑ ไม่ประมาทในธรรม - แม้เป็นคนดี ก็ไม่ควรประมาท
รุ่งขึ้น พระราชาให้นำไหขนาดใหญ่บรรจุคูถจนเต็ม เอาใบตองมาผูกปากไหไว้ ให้ไปตั้งเรียงกัน ใส่น้ำมันยาง ต้นกากะทิง และหนามงิ้วหนาๆ จนเต็มหม้อ วางไว้หัวบันได ทรงให้พวกนักมวยร่างใหญ่ ถือค้อนยืนอยู่ใกล้ๆ หัวบันได จากนั้นพระองค์ทรงรอคอยด้วยความอาฆาตแค้นที่สุมแน่นอยู่ในอก
ทศชาติชาดก เรื่องมโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 78
อาจารย์เสนกะผู้เป็นราชบัณฑิตแห่งมิ ถิลานคร แต่ก่อนนั้นเคยแต่ปราบทิฐิมานะของบุคคลอื่น เป็นที่เคารพนับถือของคนทั้งเมือง แม้แต่พระเจ้าวิเทหราชผู้ยิ่งใหญ่ก็ยังต้องเชื่อฟัง จะประกอบราชกิจอันใด หากมิได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์เสนกะแล้ว ราชกิจนั้นก็ต้องมีอันหยุดชะงักทันที แต่คราวนี้ อาจารย์เสนกะกลับต้องมาเสียทีให้แก่อิสตรีอย่างสิ้นเชิงชาย
ทศชาติชาดก เรื่องมโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 77
กระทั่งวันหนึ่ง ก็มีของขวัญล้ำค่าบรรจุห่ออย่างดี ถูกส่งจากเรือนของอาจารย์เสนกะเพื่อนำมามอบให้แด่นางอมรา นางอมราเทวีได้รับบรรณาการที่มีผู้นำมาให้แล้ว ก็รู้ความประสงค์ของอาจารย์เสนกะ นางจึงดำริในใจว่า “ช่างน่าขันเสียจริง จู่ๆเสือก็เผ่นเข้ามาหาจั่นเอง ทีนี้ล่ะ เราจะทำให้อาจารย์ทั้งสี่ได้รู้จักเข็ดหลาบเสียบ้าง”
มงคลที่ ๑๕ บำเพ็ญทาน - คิดก่อน พูดก่อน ทำก่อน ได้ก่อน
กุฎุมพีชื่อว่า เวเทหะ มีทรัพย์สมบัติ ๘๐ โกฏิ เป็นผู้มีศรัทธาในพระพุทธศาสนามากได้เข้าไปถวายนมัสการพระบรมศาสดาและกราบทูลถามว่า "วันพรุ่งนี้ ขอพระองค์ทรงเมตตารับภิกษาของข้าพระองค์เถิด" พระบรมศาสดาตรัสว่า "มี ๖,๘๐๐,๐๐๐ รูป"แม้จะมีพระภิกษุสงฆ์มากมายถึงเพียงนี้ อุบาสกก็ไม่วิตกกังวล กลับมีความปีติเบิกบานใจ ที่จะได้ถวายทานแด่ภิกษุจำนวนมากมายถึงเพียงนั้น
มงคลที่ ๑๑ บำรุงบิดามารดา - ฝ่าเท้ามารดา หนทางพาสู่สวรรค์
ในสมัยที่พระองค์เสวยพระชาติเป็นช้างเผือก ที่มีความ กตัญญู มีบริวารถึง ๑๐๐,๐๐๐ เชือก สามารถปกครองช้างทั้งหมดให้อยู่กันอย่างมีความสุข มารดาของท่านตาบอด ไม่สะดวกในการหาอาหารด้วยตนเอง ในคืนวันหนึ่ง พญาช้างโพธิสัตว์จึงพามารดาไปอยู่ในถ้ำที่เชิงเขาตามลำพัง คอยหาน้ำ หาอาหารมาเลี้ยงดูแลท่านด้วยความกตัญญู