วัดป่างิ้ว
วัดป่างิ้ว ได้รวม วัดพญาเมือง ทางคลองด้านใต้และ วัดนางหยาด ทางคลองด้านเหนือเข้าด้วยกันเป็น วัดป่างิ้ว ตามชื่อท้องถิ่นบ้านงิ้วมีเนื้อที่ ๙๐ ไร่เศษ รูปแบบการก่อสร้างละม้ายไปตามความนิยมของท้องถิ่น ซึ่งเป็นชาวมอญเสียส่วนมาก
วัดกร่าง
วัดกร่างเป็นวัดเก่าแก่ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเดิมเป็นป่าไผ่กุฏิทรงไทยและหอสวดมนต์ทรงรามัญบริเวณวัดมีลานร่มรื่นด้วยต้นไม้ใหญ่ที่ริมแม่น้ำปลุกสร้างศาลาหลังย่อม เป็นที่พักผ่อนและเลี้ยงปลา
วัดบรมวงศ์อิศรวรารามวรวิหาร
วัดบรมวงศ์อิศรวรารามเป็นพระอารามหลวงชั้นโทชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำป่าสัก ในท้องที่หมู่บ้านเพนียด ตำบลสวนพริก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แต่เดิมเรียกกันว่าวัดทำเลหญ้าหรือวัดทะเลหญ้าเพราะตั้งอยู่ท่ามกลางทุ่งหญ้ากว้าง ซึ่งเป็นที่มาของวัดแห่งนี้
วัดศรีสุทธาราม (วัดกำพร้า)
วัดศรีสุทธารามหรือวัดกำพร้า ซึ่งตั้งอยู่ริมปากอ่าวแม่น้ำท่าจีนวัด ณ ตำบลบางหญ้าแพรก อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร และมีศาลประดิษฐานพระรูปกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ให้สักการะกราบไหว้
วัดศรีมงคลใต้
วัดศรีมงคลใต้ตั้งอยู่ติดถนนสำราญชายโขงใกล้ด่านตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดมุกดาหารได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดสามัญ ในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ
วัดเหนือ
วัดเหนือเป็นวัดเก่าแก่โบราณ ซึ่งตั้งอยู่ที่จังหวัดร้อยเอ็ด ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์มาแล้ว สิ่งก่อสร้างและอาณาบริเวณที่เห็นถูกก่อสร้างไว้อย่างเป็นระเบียบแบบแผนงดงาม เป็นศูนย์รวมศรัทธาของชาวบ้านมาแต่โบราณกาล
วัดโกรกกราก
วัดโกรกกรากตั้งอยู่ริมแม่น้ำท่าจีน ตำบลโกรกกราก อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร เป็นที่ชุมนุมของชาวเรือประมงสันนิษฐานว่าเป็นวัดเก่ามีมาแต่โบราณ ไม่ปรากฎชื่อ สร้างเมื่อปี พุทธศักราช ๒๓๗๕ หลักฐานต่างๆเกี่ยวกับวัดได้สูญหายไปเมื่อครั้งเกิดไฟไหม้ใหญ่
วัดพิกุลทอง
วัดพิกุลทองเป็นวัดเก่าแก่ไม่ทราบประวัติผู้สร้างได้มีการบูรณะขึ้นใหม่อย่างดีในชั้นหลัง มีพื้นที่ทั้งหมด ๙ ไร่ ๙๐ ตารางวา อาณาเขตติดลำคลองด้านทิศใต้และทิศตะวันตกอีก ๒ ด้านติดพื้นที่ของเอกชน ซึ่งปัจจุบันทางวัดขอใช้เป็นทางเข้า-ออก
ชาวพุทธยื่นหนังสือค้านโชว์ศิลปะพระนอนหงาย
เครือข่ายชาวพุทธยื่นหนังสือสถานทูตเยอรมันค้านการแสดงศิลปะ "พระนอนหงาย" ระบุการจัดแสดงไม่มีความรู้เรื่องพุทธศาสนา-ไม่ให้ความเคารพ
วัดบางบัว
วัดบางบัวสร้างเมื่อประมาณพุทธศักราช ๒๓๘๐ โดยมีสี่พระยาเป็นผู้สร้างแต่ก่อนชาวบ้านเรียกวัดบางบัวว่า วัดลาดน้ำเค็ม ต่อมาจึงเปลี่ยนชื่อเป็นวัดบางบัวหมายถึงคลองบัวที่ผ่านหน้าวัด