พระอรหันต์ของโลก
โลกนี้ โลกหน้า เรารู้อยู่ จึงประกาศไว้ดีแล้ว เราเป็นผู้ตรัสรู้เอง รู้ชัดโลกทั้งปวง ซึ่งแออัดด้วยมาร ทั้งที่เป็นโลกอันมัจจุไปไม่ถึง เรารู้ได้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ได้เปิดประตูอมตะอันปลอดโปร่ง เพื่อบรรลุพระนิพพาน กระแสมารผู้ลามก เราตัดแล้ว กำจัดแล้ว ทำให้ปราศจากความฮึกเหิมแล้ว พวกเธอจงเป็นผู้มากไปด้วยปราโมทย์ ปรารถนาพระนิพพาน ซึ่งเป็นแดนเกษมเถิด
ชัยชนะครั้งที่ 3 (ตอน ชนะช้างนาฬาคีรี)
พระผู้มีพระภาคเจ้าจอมมุนี ได้ชัยชนะต่อช้างตัวประเสริฐ ชื่อนาฬาคีรี ซึ่งเป็นช้างตกมัน สุดแสนที่จะทารุณร้ายกาจ ด้วยนํ้าพระเมตตา ด้วยเดชแห่งชัยชนะของพระพุทธเจ้านั้น ขอชัยมงคลทั้งหลายจงบังเกิดมีแก่ท่าน
ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 194
วันหนึ่งพระองค์ลงเรือไปในมหาสมุทรพร้อมด้วยผู้ติดตามอีกหกคน คือ พระชนนี พระนางนันทา พระอนุชาติขิณมนตรี พระสหายธนูเสกข์ ปุโรหิตเกวัฏ และมโหสถบัณฑิต ปรากฏว่าเรือของมหาบพิตรแล่นเข้าไปในเขตของผีเสื้อน้ำตนนั้น มันจึงระเบิดน้ำในมหาสมุทรออกมา แล้วฉุดเรือของมหาบพิตรไว้...ครั้นแล้วจึงข่มขู่มหาบพิตรว่า ท่านจะต้องส่งคนทั้งหกให้เรากินเสีย ตามลำดับ เราจึงจะปล่อยท่านไป
ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 193
สตรีทั้งสามนางจึงรีบพากันไปกราบถวายบังคมพระเจ้าจุลนี แล้วทูลเรื่องราวทั้งหมดตามที่พวกตนได้เห็นมา แต่ก็ไม่ลืมที่จะแปลความหมายในสิ่งที่พวกตนเห็นเหมือนอย่างที่พระนางนันทาเทวีตรัสไว้ จากนั้นจึงกราบทูลเสริมอีกว่า “ขอพระองค์อย่าได้ทรงลังเลพระทัยอยู่เลยเพคะ ทางที่ดีควรรีบฆ่ามโหสถเสียโดยเร็ว เพราะหากทรงชักช้าอยู่ก็จะมิทันการณ์นะเพคะ”
ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 151
ครั้นแล้ว มโหสถก็คิดหาอุบายได้อย่างหนึ่ง จึงได้เรียกสุวโปดกมา เพื่อมอบหมายภารกิจครั้งสำคัญ “มาถูระ เจ้าผู้มีปีกเขียวขจี มานี่เถิดลูกรัก” เจ้าสุวโปดกได้ยินเสียงร้องเรียกของมโหสถ ก็ดีอกดีใจ รีบบินร่อนออกจากกรงทอง ลงมาเกาะอยู่ที่คอน พลางส่งเสียงร้องทักทายด้วยภาษามนุษย์ว่า “นายของบ่าว นายผู้เป็นที่รักยิ่งของบ่าว มีสิ่งใดให้บ่าวรับใช้หรือขอรับ”
ทศชาติชาดก เรื่องมโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 109
มโหสถบัณฑิตก็ยังมิได้นิ่งนอนใจ ดำริอยู่ในใจว่า “ฐานะ ของเราในยามนี้เท่ากับเป็นผู้พิทักษ์พระเศวตฉัตรของพระราชา ฉะนั้นเราจะมัวเมาประมาทอยู่มิได้เลย ควรจะเร่งทำนุบำรุงแว่นแคว้นให้มั่นคงเป็นปึกแผ่น เพื่อให้วิเทหรัฐทวีความยิ่งใหญ่เกรียงไกรอย่างที่ไม่มีแว่นแคว้นใดเสมอ เหมือน”
ทศชาติชาดก เรื่องมโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 108
พระเจ้าวิเทหราชทรงสดับถ้อยแถลง ของมโหสถแล้ว ก็ทรงเข้าใจแจ่มแจ้ง และทรงเห็นชัดว่า มโหสถบัณฑิตเป็นผู้บริสุทธิ์ ปราศจากมลทิน แต่ผู้ผิดกลับเป็นอาจารย์ทั้ง ๔ เสียเอง จึงทรงสั่งลงอาญาให้คุมตัวอาจารย์ทั้ง ๔ ออกจากเรือนจำ แล้วนำตัวไปตัดหัวเสีย
มงคลที่ ๑๓ สงเคราะห์ภรรยา(สามี) - คู่บุญคู่บารมี
สามีภรรยาจะต้องรู้จักความเป็น "ผู้ให้" ซึ่งกัน และกัน ตั้งแต่การให้ข้าวของเครื่องใช้ ให้คำพูดที่ไพเราะจริงใจ ให้ความช่วยเหลือเกื้อกูล รู้จักให้อภัย รวมถึงให้ความมั่นใจต่อกัน เพราะ "การให้" เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ จะทำให้เป็นคู่บุญ คู่บารมี เป็นครอบครัวแก้วที่มีแต่ความเจริญรุ่งเรืองยิ่งๆ ขึ้นไป
มงคลที่ ๑๐ มีวาจาสุภาษิต - ราชฑูตรับใช้ตัวเอง
ตัณหาความทะยานอยาก เป็นสาเหตุของความทุกข์ เมื่ออยากได้ อยากมี อยากเป็น ก็ต้องแสวงหา และในการแสวงหา กว่าที่จะให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ต้องการนั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องฝ่าฟันอุปสรรคมากมาย ต้องคอยแก้ไขปัญหาสารพัด บางทีจะได้อะไรมาสักอย่างหนึ่ง เลือดตาแทบกระเด็น บางอย่างต้องเอาชีวิตเข้าแลกจึงจะได้มา เหมือนอย่างเรื่องของบุรุษคนหนึ่ง ที่ทั้งน่าทึ่งและน่าประหลาดใจ
มงคลที่ ๖ ตั้งตนชอบ - เปลี่ยนวิถีชีวิตด้วยบุญบารมี
เรื่องมีอยู่ว่า พญาปฐวินทรนาคราช ผู้ได้เสวยสุขอยู่ในนาคพิภพ สมบูรณ์ด้วยสมบัติอันโอฬารล้วนด้วยรัตนชาติ พรั่งพร้อมด้วยเบญจกามคุณทั้งห้า ครั้นได้เสวยสุขสมบัติอันซ้ำซากจำเจอย่างนั้นนานวันเข้า เกิดความเบื่อหน่ายในนาคพิภพ อันเป็นปกติของหมู่สัตว์ที่ต้องเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ จึงดำริอยู่ในใจว่า"แม้เราจะสมบูรณ์พรั่งพร้อมด้วยรัตนสมบัติมากมาย แต่ก็ไม่ได้ประเสริฐเท่าใด เพราะยังไม่พ้นจากกำเนิดของสัตว์ที่ต้องเลื้อยคลานไปได้"