วันนี้วันที่ 51 นับจากวันเข้าพรรษา : ใจอินโนเซ้นท์
นับจากวันเข้าพรรษามาได้ 51 วันแล้ว เหลืออีกไม่ถึง 40 วัน ก็จะออกพรรษาแล้ว เราจะเห็นว่าวันเวลาผ่านไปรวดเร็วเหลือเกิน เดี๋ยววันเดี๋ยวคืนเดี๋ยวก็หมดเวลาแล้ว พรรษานี้ชื่อว่า พรรษาแห่งการบรรลุธรรม คำเต็มก็คือบรรลุพระธรรมกาย ซึ่งเป็นพระรัตนตรัยในตัว เป็นที่พึ่งที่ระลึกอันสูงสุดของเราและมวลมนุษยชาติทั้งหลาย
ธรรมกาย ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาทยุคต้น
“ธรรมกาย” เป็นคำที่คุ้นเคยกันดีในหมู่ชาวพุทธ แต่ความหมายของธรรมกายในใจของชาวพุทธแต่ละกลุ่มอาจไม่เหมือนกัน เมื่อความเข้าใจเรื่องธรรมกายในหมู่ชาวพุทธแตกต่างกันอย่างนี้ จึงน่าศึกษาว่า คำว่า “ธรรมกาย” ในคำสอนเก่าแก่ที่เก็บรักษาไว้โดยชาวพุทธในแต่ละท้องถิ่นนั้นเป็นอย่างไร....
อานุภาพหลวงปู่ ตอน เขาเห็นตอนปัดระเบิด
“เฮ้ย!.. เฮ้ย!.. นั่นอะไร !? ..มองซิ คนใส่ชุดขาว ๆ ลอยอยู่บนฟ้า อย่างกับแม่ชี..” ผู้คนเงยหน้ามองตามเสียงที่ดังขึ้นจากกลุ่มผู้ใหญ่
ปฏิปทาแห่งพรหมโลก
ตถาคตถูกถามถึงพรหมโลก หรือปฏิปทาเครื่องให้ถึงพรหมโลก ก็ไม่ชักช้าหรือประหม่าเช่นเดียวกัน ดูก่อนมาณพ เราย่อมรู้จักทั้งพรหมโลกและปฏิปทาเครื่องให้ถึงพรหมโลก อนึ่ง ผู้ปฏิบัติด้วยประการใดจึงเข้าถึงพรหมโลก เราย่อมรู้ชัดซึ่งประการนั้นด้วย
ปรทัตตูปชีวีเปรต
น้ำฝนตกลงในที่ดอนย่อมไหลไปสู่ที่ลุ่ม ฉันใด ทานที่ญาติมิตรให้แล้วจากมนุษยโลกนี้ ย่อมสำเร็จผลแก่เปรตทั้งหลาย ฉันนั้น ห้วงน้ำใหญ่เต็มแล้ว ย่อมยังสาครให้เต็มเปี่ยม ฉันใด ทานที่ญาติหรือมิตรให้แล้ว จากมนุษยโลกนี้ ย่อมสำเร็จผลแก่เปรตทั้งหลาย ฉันนั้น กุลบุตรเมื่อหวนระลึกถึงอุปการคุณ ที่ท่านทำแล้วในกาลก่อนว่า คนโน้นได้ให้สิ่งของแก่เรา คนโน้นได้ทำอุปการคุณแก่เรา ญาติมิตรและสหายได้ให้สิ่งของแก่เราและได้ช่วยทำกิจของเรา พึงให้ทักษิณาแก่เปรตทั้งหลาย
แสนโกฏิจักรวาล
หมู่สัตว์ ๑ อากาศ ๑ จักรวาลไม่มีที่สุด ๑ และพระพุทธญาณอันหาประมาณมิได้ ๑ ทั้ง ๔ อย่างนี้ ใครๆ ไม่อาจรู้ได้
แนวคิดการบำเพ็ญบารมี_5
ดูก่อนสุเมธดาบส ท่านพึงบำเพ็ญแม้ปัญญาบารมีให้บริบูรณ์ ท่านอย่าได้เว้นใครๆ เลย ไม่ว่าจะเป็นคนชั้นล่าง ชั้นกลาง และชั้นสูง พึงเข้าไปหาบัณฑิตทั้งหมด ไต่ถามปัญหา ภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร เดินไปบิณฑบาตตามลำดับตรอก ไม่ละเว้นตระกูลใดๆ ไม่ว่าจะเป็นตระกูลชั้นไหน ได้อาหารพอยังชีพ ฉันใด แม้ท่านก็ฉันนั้น เข้าไปหาบัณฑิตทั้งปวง ไต่ถามปัญหา จักได้เป็นพระพุทธเจ้า
มงคลที่ ๓๓ เห็นอริยสัจ - ต่างวิธีการ แต่เป้าหมายเดียวกัน
ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค ได้กล่าวถึงวิธีการทำใจให้สงบไว้ ๔๐วิธี ซึ่งทั้งหมดนั้น เราสามารถเลือกปฏิบัติวิธีการใดวิธีการหนึ่ง สองหรือสามวิธีการพร้อมกันก็ได้ ตามแต่จริตอัธยาศัยของแต่ละคน แต่สุดท้ายก็มีเป้าหมายเดียวกัน คือ ต้องการความสงบของใจ เมื่อใจรวมหยุดนิ่ง ก็จะดิ่งเข้าสู่กลางภายในตรงศูนย์กลางกายฐานที่๗ และจะได้ตรัสรู้ธรรมไปตามลำดับ
มงคลที่ ๓๓ เห็นอริยสัจ - ผู้ดื่มรสแห่งธรรม
ภิกษุผู้ที่เล่าเรียนพระปริยัติธรรมเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถตอบได้แม้แต่ข้อเดียว จึงนั่งก้มหน้านิ่งอยู่ ส่วนภิกษุผู้ปฏิบัติธรรมจนเป็นพระอรหันต์ สามารถตอบปัญหาธรรมได้ทุกข้อ อย่างแจ่มแจ้งฉะฉานไม่มีติดขัด พระพุทธองค์จึงทรงสรรเสริญ ชื่นชม อนุโมทนาสาธุการพระเถระ
มงคลที่ ๑๖ ประพฤติธรรม - สอนตน สอนคนให้ถึงธรรม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมด้วยอาการ ๓ อย่างด้วยกัน คือ ประการแรก ทรงสอนให้ผู้ฟังรู้ยิ่งเห็นจริงในสิ่งที่ควรรู้ควรเห็น ประการที่สอง ทรงแสดงธรรมมีเหตุที่ผู้ฟังจะสามารถตรองตามให้เห็นจริงตามที่พระองค์ทรง แสดงได้ และประการสุดท้าย ทรงแสดงธรรมเป็นอัศจรรย์ คือ ผู้ปฏิบัติตามธรรมนั้นจะได้รับประโยชน์ตามสมควรแก่การปฏิบัติ