สรรเสริญพุทธคุณ บุญส่งถึงนิพพาน
“ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ พระองค์เท่านั้นเป็นที่พึ่งของบุคคลผู้ว่ายอยู่ในห้วงน้ำ เป็นนาถะของผู้ไม่มีเผ่าพันธุ์ เป็นสรณะของผู้ที่ยังมีภัย และเป็นผู้นำของผู้ต้องการความหลุดพ้น”
เหตุอย่างเดียวกัน แต่ได้ผลต่างกัน
เหตุอย่างเดียวกัน เป็นผลดีแก่คนหนึ่ง แต่เป็นผลร้ายแก่อีกคนหนึ่งได้ เพราะฉะนั้นเหตุอย่างเดียวกัน มิใช่ว่าจะเป็นผลดีไปทั้งหมด และมิใช่ว่าจะเป็นผลร้ายเสมอไป
แสดงตนเมื่อถึงกาลอันควร
การปกปิดตน เมื่อยังไม่ถึงกาลอันควรเป็นการดี การปกปิดสิ่งที่เป็นความลับเอาไว้ไม่แพร่งพรายเป็นการดี การเปิดเผยความลับบัณฑิตไม่สรรเสริญ เพราะภัยอาจตามมาถึงบุคคลผู้ไร้ปัญญา ไม่รู้จักพิจารณา หาความสำรวมระวังมิได้
อเนกวรรณเทพบุตร
ข้าพเจ้าได้ชักชวนคนอื่นๆ ให้ทำบุญว่า ท่านทั้งหลายจงบูชาพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าผู้ควรบูชาเถิด เมื่อท่านทั้งหลายละอัตภาพนี้แล้ว จักได้ไปเสวยสุขในสุคติสวรรค์ ข้าพเจ้าได้กระทำกุศลกรรมอย่างนั้นแล้ว จึงได้เสวยสุขอันเป็นทิพย์ด้วยตน และบันเทิงอยู่ในท่ามกลางหมู่ทวยเทพ
จันทกุมาร บำเพ็ญขันติบารมี (๓)
ชีวิตหลังความตายยังเป็นความมืดมนสำหรับมนุษย์ทั้งหลาย เพราะยังไม่ได้รู้แจ้งในโลกทั้งปวง มนุษย์มากมายต่างก็ปรารถนาจะไปสวรรค์ เพราะรู้ว่าสวรรค์เป็นดินแดนแห่งการเสวยสุข
แนวคิดการบำเพ็ญบารมี_5
ดูก่อนสุเมธดาบส ท่านพึงบำเพ็ญแม้ปัญญาบารมีให้บริบูรณ์ ท่านอย่าได้เว้นใครๆ เลย ไม่ว่าจะเป็นคนชั้นล่าง ชั้นกลาง และชั้นสูง พึงเข้าไปหาบัณฑิตทั้งหมด ไต่ถามปัญหา ภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร เดินไปบิณฑบาตตามลำดับตรอก ไม่ละเว้นตระกูลใดๆ ไม่ว่าจะเป็นตระกูลชั้นไหน ได้อาหารพอยังชีพ ฉันใด แม้ท่านก็ฉันนั้น เข้าไปหาบัณฑิตทั้งปวง ไต่ถามปัญหา จักได้เป็นพระพุทธเจ้า
จันทกุมารบําเพ็ญขันติบารมี (3)
ลูกเอ๋ย ลูกอย่าเชื่อคำนั้น ข่าวที่ว่า สุคติจะมีเพราะเอาบุตรไปบูชายัญ ทางนั้นเป็นทางไปนรก ไม่ใช่ทางไปสวรรค์ ลูกรัก ลูกจงให้ทาน อย่าได้เบียดเบียนสัตว์ทั้งปวง นี่เป็นทางไปสู่สุคติสวรรค์ ส่วนการไปสู่สุคติ ไม่ใช่เพราะเอาบุตรบูชายัญ
มงคลที่ ๒๗ มีความอดทน - ผู้มีขันติธรรมเป็นเลิศ
ดูก่อน...ภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ของความอดทนมี ๕ประการ คือ ผู้อดทนย่อมเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของชนหมู่มาก ย่อมเป็นผู้ไม่มากด้วยเวร คือ ทำให้ไม่มีเวรมีภัยกับใคร ย่อมเป็นผู้ไม่มากด้วยโทษ ย่อมเป็นผู้ไม่หลงทำกาละ เมื่อตายไปย่อม เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์อย่างเดียว
มงคลที่ ๒๗ มีความอดทน - อดใจเมื่อมีอุปสรรค
พระบรมศาสดาจึงตรัสสอนให้พวกเรามีใจ หนักแน่นมั่นคงเหมือนกับแผ่นดิน แผ่นดินที่แม้จะมีใครเอาสิ่งปฏิกูลมา เททิ้งลงไป หรือเอาของเหม็นมาราดรด ก็ยังคงทำหน้าที่รองรับด้วยอาการสงบนิ่ง ไม่มีอาการหวั่นไหว หรือเดือดร้อนใดๆ
มงคลที่ ๑๐ มีวาจาสุภาษิต - วจีกรรมนำสู่นิพพาน
เราเป็นผู้มีปกติกล่าวสรรเสริญพระชินวรเจ้าทุกเมื่อ เพราะ กรรมนั้น เราจึงเป็นผู้มีร่างกายและกลิ่นปากหอม เพียบพร้อมด้วยความสุขมีปัญญากล้า มีปัญญาร่าเริง มีปัญญาไว มีปัญญามากและมีปฏิภาณอันวิจิตร